3.2.1 การเกิดพันธะไอออนิก
มีประจุไฟฟ้าต่างกันยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าของธาตุโลหะที่มีพลังงานไอออไนเซชันกับธาตุอโลหะที่มีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า พันธะไอออนิกสารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งยู่ในรูปของผลึกที่มีไอออนบวกและลบยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องกันไปทั้งสามมิติเป็นโครงผลึก
3.2.2 สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก
3.2.3 พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก
ปฏิกิริยาเคมีนอกจากจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีแล้วส่วนใหญ่ยังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย ซึ่งพลังงานเกิดของสารสามารถประกอบสามารถหาได้จากการทดลองในการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุ
พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการรวมกันของไอออนบวกและลบในสารประกอบไอออนิกเรียกว่า พลังงานโครงผลึก สามารถหาค่าพลังงานได้ด้วยการคำนวณ โดยอาศัยวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้
- ของแข็งระเหิดกลายเป็นแก๊ส เรียกพลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ว่า พลังงานการระเหิด
- พลังงานที่ใช้ในการเสียอิเล็กตรอนให้กลายเป็นไอออนบวกเป็นไอออนลบ เรียกว่า พลังงานไอออไนเซชัน
- พลังงานที่ใช้ในการสลายโมเลกุลของแก๊สให้เป็นอะตอมในสถานะแก๊ส เรียก พลังงานการสลายพันธะ
- พลังงานที่คายออกมาเมื่อมีการรับอิเล็กตรอนให้กลายเป็นประจุลบเรียกว่า พลังงานสัมพรรรคภาพอิเล็กตรอน
- พลังงานที่ได้ออกมาเมื่อมีการยึดไอออนบวกกับไอออนลบให้กลายเป็นของแข็ง เรียกว่า พลังงานโครงผลึกหรือพลังงานแลตทิซ
3.2.4 สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเล็กตรอนทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย
3.2.5 สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ์
1. สมการโมเลกุล (molecular equation) เป็นการเขียน แสดงสารทุกชนิดในรูปโมเลกุล (หน่วยสูตร)
ไม่ต้องแยกออกเป็นไอออน แต่เป็นที่เข้าใจว่าส่วนใดเป็นไอออนบวก ส่วนใดเป็นไอออนลบ และส่วนใดคือ
ส่วนที่ตกตะกอน เช่น
Pb(NO3)(aq) + 2KI(aq) → PbI2(s) + 2KNO3(aq)
สารที่มี (aq) อยู่ข้าง ๆ หมายถึงเป็นสารที่แตกตัวเป็นไอออน ซึ่งก็คือสารที่ละลายน้ำได้
สารที่มี (s) อยู่ข้าง ๆ หมายถึงสารที่ตกตะกอน
Pb(NO3)(aq) + 2KI(aq) → PbI2(s) + 2KNO3(aq)
สารที่มี (aq) อยู่ข้าง ๆ หมายถึงเป็นสารที่แตกตัวเป็นไอออน ซึ่งก็คือสารที่ละลายน้ำได้
สารที่มี (s) อยู่ข้าง ๆ หมายถึงสารที่ตกตะกอน
2. สมการไอออนิกแบบรวม (over all Ionic equation) เป็นการเขียนแสดงสารแต่ละชนิดเมื่อแตกตัวเป็น
ไอออน โดยเขียนครบทุกไอออน เช่น
Pb2+(aq) + 2NO3-(aq) + K+(aq) + 2I- (aq) → PbI2(s) + 2NO3-(aq) + 2K+(aq)
Pb2+(aq) + 2NO3-(aq) + K+(aq) + 2I- (aq) → PbI2(s) + 2NO3-(aq) + 2K+(aq)
ให้สังเกตที่ (aq) และ (s) แสดงการละลายได้และการตกตะกอน ตามลำดับ
3. สมการไอออนิกสุทธิ (net-ionic equation) กรณีนี้เขียนเฉพาะไอออนที่รวมตัวกันแล้วตกตะกอนเท่านั้น
ได้แก่ Pb2+(aq) + 2I- (aq) → PbI2(s)
ปฏิกิริยาการเกิดตะกอนของสารประกอบไอออนิกในน้ำอาจเขียนแทนได้ด้วย สมการไอออนิก ที่แสดงไอออนในสารละลายทุกชนิด
ไอออนในสมการของ)ฏิกิริยาที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย แสดงสถานะของไอออนเป็น aq (aqueous solution) และในบรรทัดสุดท้ายของสมการซึ่งตัดไอออนที่ไม่ทำปฏิกิริยากันออกแล้ว เราเรียกว่า สมการไอออนิกสุทธิ
การอธิบายหรือทำนายปฏิกิริยาการเกิดตะกอนของสารละลายของสารประกอบไอออนิกพิจารณาได้จากสมบัติการละลายน้ำ ตามหลักการเบื้องต้นดังนี้
สารประกอบละลายน้ำ
- สารประกอบโลหะแอลคาไลและแอมโมเนียมทุกชนิด
- สารประกอบไนเตรต คลอเรต เปอร์คลอเรต แอซีเตตทุกชนิด
- สารประกอบคลอไรด์ โบรไมด์ ไอโอไดด์
- สารประกอบซัลเฟต (ยกเว้นของ Pb Sr Ba ไม่ละลายน้ำ ส่วน Ca และ Ag ละลายน้อย)
สารประกอบไม่ละลายน้ำ
- สารประกอบออกไซด์ของโลหะ
- สารประกอบไฮดรอกไซด์
- สารประกอบคาร์บอเนต ฟอสเฟต ซัลไฟด์ และซัลไฟต์ (ยกเ้นสารประกอบของแอมโมเนียมและของโลหะแอลคาไล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น